พิมพลักษณ์ : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
บทคัดย่อ : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ (Human Computer Interaction : HCI) ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการพัฒนาเครื่องจักรต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เครื่องจักรทำงานแทนมนุษย์หรือช่วยให้มนุษย์ทำงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ภายหลังนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเริ่มให้ความสนใจกับศาสตร์นี้มากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับกายวิภาคของเครื่องจักรต่างๆ ว่ามีผลกระทบต่อการทำงานของมนุษย์มากน้อยเพียงใด และแก้ไขให้สามารถเพิ่มจำนวนการผลิตได้อย่างไร ศาสตร์นี้มีการให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน อุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลที่มนุษย์ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ เวลาที่ใช้งานเครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ได้จากการศึกษาและพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์คือ ระบบคอมพิวเตอร์/ระบบเครื่องจักร หรือแม้แต่อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้งานได้ง่าย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ใช้แล้วมีความสบายกายและสบายใจ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ระบบที่ใช้งานได้เท่านั้น
หมายเหตุสารบัญ : ความสำคัญของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ -- กระบวนการรับรู้ข้อมูล การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหาของมนุษย์ในบริบทการปฏิสัมพันธ์ -- ประวัติความเป็นมาของเครื่องคำนวณและคอมพิวเตอร์ -- ส่วนต่อประสานและอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ -- กระบวนทัศน์ของการปฏิสัมพันธ์ -- ความสามารถในการสร้างปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ -- พื้นฐานการออกแบบปฏิสัมพันธ์ -- การออกแบบส่วนต่อประสานและการแสดงผลบนหน้าจอ -- ความเชื่อมโยงของการปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ -- กฎของการออกแบบ
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2
รูปเล่ม : (17), 351 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.
ISBN : 9789740342540
หมวดหมู่ :
หนังสือทั่วไป
หัวเรื่อง : ปฏิสัมพันธ์มนุษย์-คอมพิวเตอร์, Human-computer interaction
บาร์โค้ด
เลขหนังสือ
สถานะ
101010009336
QA76.9.H85 ว275 2567 c.1
อยู่บนชั้นวาง
101010009337
QA76.9.H85 ว275 2567 c.2
อยู่บนชั้นวาง