พิมพลักษณ์ : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
บทคัดย่อ : วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นเช่นนี้เพราะวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่เหมาะสมแก่การวิจัยทางสังคมศาสตร์ เนื่องจากการอธิบายปรากฎการณ์สังคมจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมของปรากฎการณ์ และเน้นความสำคัญของความหมาย หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาสังคม พร้อมทั้งแสดงเทคนิควิธีต่างๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิจัยชนิดนี้ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาเอกสาร การศึกษาประวัติชีวิต ผู้อ่านที่ประสงค์จะเรียนรู้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและแสวงหาแนวทางที่จะทำการวิจัยประเภทนี้ควรใช้หนังสือเล่มนี้ประกอบกับการฝึกฝน ผู้ที่ศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในสังคม และด้านมนุษยศาสตร์ บางสาขาก็อาจใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ได้เช่นกัน
หมายเหตุสารบัญ : บทที่ 1. ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ -- บทที่ 2. การเตรียมตัวทำงานภาคสนาม -- บทที่ 3. การสังเกต -- บทที่ 4. การสัมภาษณ์ -- บทที่ 5. การรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ๆ -- บทที่ 6. การตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูล -- บทที่ 7. การเขียนรายงาน -- บทที่ 8. ข้อควรระวังในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ.
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 26 (ฉบับปรับปรุงใหม่)
รูปเล่ม : (8), 186 หน้า ; 21 ซม.
ISBN : 9789740341574
หมวดหมู่ :
หนังสือทั่วไป
หัวเรื่อง : การวิเคราะห์เชิงปริมาณ, สังคมศาสตร์ -- วิจัย, วิจัย, วิจัยเชิงคุณภาพ, Quantitative analysis, Social sciences -- Research, Qualitative research
บาร์โค้ด
เลขหนังสือ
สถานะ
101010009103
H62 ส837 2565 c.1
อยู่บนชั้นวาง
101010009104
H62 ส837 2565 c.2
อยู่บนชั้นวาง
101010009105
H62 ส837 2565 c.3
อยู่บนชั้นวาง
101010009106
H62 ส837 2565 c.4
อยู่บนชั้นวาง
101010009107
H62 ส837 2565 c.5
อยู่บนชั้นวาง